“ชีวิตจะดี ถ้ามีภูมิ” (การฉีดวัคซีน)
เมื่อกล่าวถึงการฉีดวัคซีน บุคคลทั่วไปรวมถึงบุคลากรสายสุขภาพ มักจะคิดถึงการให้วัคซีนในเด็ก มีน้อยมากที่พูดถึงการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ ซึ่งความจริงแล้วในผู้ใหญ่มีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพื่อการป้องกันรวมถึงลดอัตราการเสียชีวิต และลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ และสามารถป้องกันคนรอบตัวจากการติดเชื้อได้เช่นกัน
อาทิ เด็กเล็ก คนไข้โรคมะเร็ง
ทั้งนี้การฉีดวัคซีนแต่ละชนิดขึ้นกับกลุ่มอายุ สุขภาพ โรคประจำตัว อาชีพ สภาพแวดล้อม การเดินทาง รวมถึงประวัติการได้รับวัคซีนในอดีต
ใจความสำคัญในการฉีดวัคซีนสามประการที่ทางผู้เขียนอยากนำเสนอขึ้นก่อนเพื่อความเข้าใจในเรื่องการฉีดวัคซีน คือ
- วัคซีนมีความจำเป็นต่อทุกคน ทุกกลุ่มอายุ
- วัคซีนมีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นค่อนข้างน้อย เช่น ปวดหรือแดงที่แขน
- วัคซีนมีประสิทธิภาพสูง เช่น วัคซีนเอชพีวี (HPV) สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่
หากอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีปัญหาสุขภาพ เบื้องต้นทางผู้รับบริการฉีดวัคซีนควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เพื่อจะได้รับวัคซีนที่ครบถ้วนและปลอดภัย
การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ แบ่งประเภทข้อบ่งชี้ได้ตามกลุ่มผู้รับบริการฉีดวัคซีนได้เป็น 4 กลุ่มหลักตามเกณฑ์การฉีดวัคซีน คือ
1. บุคคลทั่วไป (รัฐบาลจัดสรรให้)
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (flu): ควรได้รับทุกปี ปีละครั้ง
วัคซีนบาดทะยัก (Tdap): ควรได้รับ 1 ครั้ง หลังจากนั้น ฉีด 1ครั้ง ทุก ๆ 10 ปี
2. หญิงตั้งครรภ์:
วัคซีนบาดทะยัก (Tdap): ควรได้รับทุกการตั้งครรภ์
วัคซีนไข้หวัดใหญ่เชื้อตาย (flu): ควรได้รับหลังอายุครรภ์ 14-20 สัปดาห์
3. ผู้สูงอายุ:
วัคซีนนิวโมคอกคัล (Pneumococcal vaccine): ให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อในปอดและติดเชื้อในกระแสเลือด ควรได้รับเริ่มต้นที่อายุ 65 ปี
วัคซีนงูสวัด (Zoster): เริ่มต้นที่อายุ 60 ปี
4. กลุ่มผู้รับบริการวัคซีนที่มีความเสี่ยงจำเพาะกลุ่ม
เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยรับการปลูกถ่ายอวัยวะ กลุ่มบุคลากรสายสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ บุคคลที่มีประวัติรับวัคซีนไม่ครบ หรือบุคคลที่กำลังจะเดินทางไปในสถานที่ที่มีความชุกของบางโรค อาทิ ไข้รากสาดใหญ่
ตัวอย่างวัคซีน:
- วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ/บี ( HepA , HepB )
- วัคซีนเอชพีวี ( HPV หรือ human papillomavirus )
- วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน ( MMR หรือ measles, mumps, and rubella )
- วัคซีนไข้สมองอักเสบ ( meningococcal )
- วัคซีนไข้รากสาดใหญ่ ( typhoid )
- วัคซีนสุกใส ( varicella )
- วัคซีนพิษสุนัขบ้า ( rabies )
สุดท้าย ผู้เขียนขอสรุปเป็นตารางการให้วัคซีนที่ดัดแปลงมาจากแนวทางการให้บริการในคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ ของกองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค (ปรับปรุงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2562) และตารางแนะนำการรับวัคซีนจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC.org)
ตารางที่ 1 วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่พื้นฐานที่พึงได้รับตามสิทธิ์ในประเทศไทย
รูปภาพที่ 1-2 ตารางแนะนำการรับวัคซีนจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC.org)
TH-8491